ข้อห้ามในการบูชาพญานาค ความเชื่อที่ควรรู้

ในการบูชาพญานาคหลายคนอาจจะรู้กันอยู่แล้ว แต่ในเรื่องข้อห้ามสำหรับการบูชาพญานาคก็มีเช่นดียวกัน ใครที่นับถือพญานาค อยากจะปฏิบัติให้ดี ไม่ละเมิดข้อห้าม

คำแนะนำเกี่ยวกับข้อห้ามในการบูชาพญานาค

  1. อย่าวางพวงมาลัยบนเศียรพญานาคเด็ดขาด
  2. ห้ามถวายเนื้อสัตว์ทุกชนิด
  3. อย่าเอามือตักน้ำลูบเศียรท่านเด็ดขาด
  4. อย่าผิดสัจจะ อย่าโกหก
  5. ของถวายอย่าทิ้งถังขยะ แนะนำให้นำไปลอยน้ำ

ใครที่นับถือบูชาพญานาคหรือจะทำการบูชาพญานาคก็เก็บไว้เป็นข้อปฏิบัติตามกันได้นะคะ เพื่อความสบายใจและไม่ลบหลู่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทำด้วยมารยาทที่ดีและความจริงใจ ก็สามารถช่วยให้รู้สึกสบายใจในการทำบุญได้ค่ะ

ความเชื่อเรื่องพญานาคในสังคมไทยอยู่คู่กันมาช้านาน บ้างก็ว่า “พญานาค” มีมาตั้งแต่ก่อนพุทธกาล อย่างที่ทราบกันดีว่าสัตว์กึ่งเทพตนนี้ ผูกพันและข้องเกี่ยวกับศาสนามาเสมอ ดั่งเรื่องราวที่เด่นแจ้งในพุทธชาดก สะท้อนผ่านประเพณี ขนบธรรมเนียม ความเชื่อต่างๆ รวมไปถึงจิตรกรรมฝาผนังและงานศิลปะตามวัดต่างๆ ที่มักจะมีการปรากฏตัวของพญานาคอยู่ในเรื่องเล่าเหล่านั้น

หากมองในแง่ความเป็นจริงตามหลักวิทยาศาสตร์ ปัจจุบันยังคงไม่มีอะไรชี้ชัดว่า “พญานาค” มีอยู่จริงหรือไม่มีจริง ความเชื่อและชุดข้อมูลต่างๆ มักถูกบอกเล่าผ่านผู้นำในสังคมนั้นๆ เป็นความเชื่อแบบปากต่อปาก เล่าสู่กันฟัง

ความเชื่อ แรงศรัทธา “พญานาค” ของคนไทย

ในมิติศาสนาพุทธ

ความเชื่อเรื่องพญานาคแทรกซึมอยู่ในทุกบริบทของสังคมไทย ขึ้นชื่อว่าเป็นสังคมเมืองพุทธ เรื่องราวและเรื่องเล่าต่างๆ มักมีพญานาคเป็นหนึ่งในตัวละครสำคัญ ที่เป็นตัวแทนของ “ศาสนิกชนที่ดี” เปี่ยมด้วยความเลื่อมใสและศรัทธาในพระพุทธศาสนา ทั้งยังมีเรื่องของงานประเพณี นิทานพื้นบ้าน ขนบธรรมเนียมบางอย่างที่ผูกพันกับงูใหญ่ผู้มีอิทธิฤทธิ์

พญานาคเป็นตัวแทนของความยิ่งใหญ่ ความอุดมสมบูรณ์และเปี่ยมไปด้วยวาสนา คนไทยเชื่อว่านาคเป็น “สัตว์กึ่งเทพ” สามารถแปลงกายเป็นมนุษย์และสัตว์อื่นๆ ได้ ที่สำคัญเต็มยังไปด้วยฤทธิ์เดชต่างๆ มากมาย ให้ทั้งคุณและโทษ หลายคนจึงนิยมบูชาพญานาค เพื่อหวังเรื่องโชคลาภ การคุ้มครองให้ปลอดภัย รวมถึงเรื่องอื่นๆ

Tips : ศาสนาฮินดูเชื่อว่า “พญานาค” เป็นเทพเจ้าแห่งน้ำ ใกล้ชิดกับเทพองค์อื่นๆ

พญานาค ความเชื่อ

“พญานาค” ในพุทธชาดก

อย่างที่เอ่ยไปในตอนต้นว่า “พญานาค” ข้องเกี่ยวกับพุทธศาสนามายาวนาน ครั้งหนึ่งในอดีตชาติของพระพุทธเจ้าก็เคยกำเนิดเป็นพญานาคอยู่หลายครั้ง ดังปรากฏในอรรถกถาจัมเปยยชาดก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม 3 ภาค 7 หน้า 185

ทั้งยังมีเรื่องราวของพญานาคอยู่ในพระไตรปิฎกและอรรถกถาอีกหลายเรื่องเล่า

พญานาคกับพระพุทธรูปปางนาคปรก

“พระพุทธรูปปางนาคปรก” พระประจำคนเกิดวันเสาร์ ที่หลายคนรู้จักกันดีก็มาจากเหตุการณ์ที่ “พญานาคมุจลินท์” ขดตัวล้อมรอบพระสมณโคดม (พระพุทธเจ้า) เป็นชั้นๆ เจ็ดรอบ และแผ่พังพานขนาดใหญ่ปกป้องไม่ให้ร่างกายของพระพุทธเจ้าถูกลมฝนกระหน่ำตลอด 7 วันที่มีพายุเข้า

ตลอดจนคอยกันไม่ให้แมลงและสัตว์เลื้อยคลาน รบกวนการบำเพ็ญเพียรของพระสมณโคดม และเมื่อพายุฝนผ่านไป การบำเพ็ญภาวนาสิ้นสุด พญานาคมุจลินท์ได้แปลงกายเป็นชายหนุ่มรูปงาม เพื่อถวายนมัสการแด่พระพุทธเจ้า

จากเรื่องราวที่เต็มไปด้วยความมุมานะนี้ ทำให้พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย พากันเห็นถึงความเลื่อมใสและศรัทธาอันแรงกล้าของพญานาคที่มีต่อศาสนา จึงเกิดเป็นแรงบันดาลใจสำคัญ หล่อพระพุทธรูปปางนาคปรกขึ้นมาอย่างแพร่หลายนั่นเอง

พระพุทธรูปปางนาคปรก

“พญานาค” กับการบวชเป็นพระภิกษุ

ครั้งหนึ่งในสมัยพุทธกาล มีพญานาคตนหนึ่งที่มีใจเลื่อมใสและฝักใฝ่ในพุทธศาสนาเอามากๆ จนยอมละทิ้งทุกอย่างในเมืองบาดาล ก่อนแปลงกายเป็นมนุษย์เพื่อขึ้นมาบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์ แต่ด้วยดวงตาอันแหลมคมของพระพุทธเจ้า ซึ่งเห็นถึงความจริงทั้งหมดว่าบุคคลตรงหน้านี้ หาใช่มนุษย์จริงๆ

สุดท้ายด้วยกฏใดต่างๆ พญานาคองค์นั้นก็ไม่สามารถบวชเป็นพระได้ดั่งที่ตั้งใจ แต่ด้วยจิตใจที่แน่วแน่ในพระธรรม นาคองค์นั้นได้ขอให้พระพุทธเจ้า เรียกคนที่กำลังจะบวชว่า “นาค” เพื่อระลึกถึงพญานาคที่บวชไม่ได้นั่นเอง

ประเพณีการทำขวัญนาค ขานนาค หรือบวชนาค จึงมีที่มาจากเรื่องเล่าดังกล่าวนี้ รวมถึงการ “ขานนาค” ทุกครั้งก่อนบวช จำต้องมีบทสวดถามถึงคนที่ขอบวชเป็นภาษาบาลีว่า “มนุสฺโสสิ” ซึ่งหมายความว่า เป็นมนุษย์หรือไม่

นาค

“พญานาค” กับประเพณีบุญบั้งไฟ

หนึ่งในสิ่งที่ทำให้หลายคนเชื่อว่า “พญานาค” มีอยู่จริง คือแสงไฟที่ลอยตัวขึ้นมาที่ริมน้ำโขง ในทุกๆ วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 ของทุกปี โดยดวงไฟกลมๆ ที่ลอยขึ้นมาเหนือน้ำนั้น เชื่อว่าเป็นการแสดงอิทธิฤทธิ์ของพญานาคจากเมืองบาดาล เพื่อเฉลิมฉลองการเสด็จกลับจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

จนเกิดเป็นเทศกาลงานประเพณีสุดคึกคักในจังหวัดแถบอีสาน ฝั่งลุ่มแม่น้ำโขง ทุกๆ ปีจะมีประเพณีบุญบั้งไฟเพื่อบูชาพญานาค ตลอดจนเป็นพิธีกรรมขอฝนไปในตัว แต่ละพื้นที่จะมีพิธีกรรมทางวัฒนธรรมแตกต่างกันไป และที่ไม่พูดถึงไม่ได้คือการบูมแบบปังๆ ของ “คำชะโนด” ดินแดนศักดิ์สิทธิ์ของพญานาค เชื่อว่าเป็นที่สิงสถิตของพญานาคปู่ศรีสุทโธ

พญานาคประจำวันเกิด

ว่าด้วยความเชื่อเรื่องพญานาค ที่อยู่คู่กับสังคมเมืองพุทธของเรามายาวนานไปเรียบร้อยแล้ว ทีนี้มาดู “พญานาค” ประจำวันเกิดของคนแต่ละวันกันบ้าง เกิดวันนี้ควรบูชาพญานาคองค์ไหน? เพื่อผลสัมฤทธิ์ที่ถูกต้องและชัดเจน ไปดูกัน!

ผู้ที่เกิดวันอาทิตย์ พญาอนันตนาคราช

ผู้ที่เกิดวันจันทร์ พญาภุชงค์นาคราช

ผู้ที่เกิดวันอังคาร พญาสุวรรณนาคราช

ผู้ที่เกิดวันพุธกลางวัน พญาศรีสุทโธนาคราช

ผู้ที่เกิดวันพุธกลางคืน พญาศรีมุกดามหามุนีนีลปาลนาคราค

ผู้ที่เกิดวันพฤหัสบดี พญาศรีสัตตนาคราช

ผู้ที่เกิดวันศุกร์ พญาทะนะมูลนาคราช

ผู้ที่เกิดวันเสาร์ พญามุจลินทร์นาคราช

Tips : ส่วนใหญ่แล้วการบูชาพญานาคมักจะนำรูปปั้นพญานาคมาวางไว้ที่สระน้ำหน้าบ้าน หรือบริเวณสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับน้ำ หรือจะเลือกเป็นภาพวาดพญานาคมาแขวนไว้ รวมถึงเหรียญบูชาก็มีให้เลือกเช่นเดียวกัน

รู้ข้อห้ามกันแล้ว รู้รึเปล่าว่า เว็บที่ไม่มีข้อห้ามต้อง lucabet345

© 2021 – 2023 GUZACLUB88. All Rights Reserved.
chevron-down